โตเกียว (Tokyo)
โตเกียว (「東京都」) หรือ กรุงโตเกียว เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน และเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก (โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 35 ล้านคน 35,237,000 คน) โดยเฉพาะในตัวโตเกียวใน 23 เขตปกครองพิเศษในโตเกียว แล้วมีประชากรประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ในปี 2548 โตเกียวได้รับการจัดอันดับเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2550 โตเกียวได้เป็นอันดับทีE4 รองจาก มอสโก ลอนดอน และ โซล ตามลำดับโตเกียวตั้งอยู่บริเวณภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในพื้นที่โตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังอิมพีเรียล
ชื่อจังหวัด
โตเกียวเคยถูกเรียกว่าเอโดะ ซึ่งแปลว่าปากแม่น้ำ เมื่อกลายเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในปี 1868 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว ซึ่งแปลว่าเมืองหลวงทางตะวันออก (โต (?:ตะวันออก) เกียว (?:เมืองหลวง)) ในตอนต้นยุคเมจิ โตเกียวบางครั้งถูกเรียกว่า โตเก ซึ่งเป็นวิธีอ่านอีกแบบของตัวคันจิในคำว่าโตเกียว แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
ประวัติศาสตร์
ปราสาทเอะโดะ หรือพระราชวังอิมพีเรียลในปัจจุบันโตเกียวแต่เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็ก ที่ชื่อเอะโดะ ในปีค.ศ. 1457 โอตะ โดกัง สร้างปราสาทเอโดะขึ้น ในปีค.ศ. 1590 โทกุงะวะ อิเอะยะสึตั้งเอะโดะเป็นฐานกำลังของเขาและเมื่อเขากลายเป็นโชกุนในปีค.ศ. 1603 เมืองเอะโดะก็กลาย เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลทหารของเขาซึ่งมีอำนาจปกครองทั้งประเทศ ในช่วงเวลาต่อมาในยุคเอะโดะ เมืองเอะโดะก็ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนในคริสตวรรษที่18และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นแม้ว่าองค์จักรพรรดิทรงประทับอยู่ในเกียวโต
หลังจากนั้นประมาณ 263 ปี ระบอบปกครองภายใต้โชกุนถูกล้มล้างโดยการปฏิรูปเมจิ อำนาจการปกครองจึงกลับคืนมาสู่จักรพรรดิอีกครั้ง ในปี 1869 จักรพรรดิเมจิทรงย้ายเมืองหลวงมาที่เอะโดะและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโตเกียว โตเกียวจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรมของประเทศ และการที่จักรพรรดิทรงย้ายมาประทับจึงทำให้โตเกียวกลายเป็นเมืองหลวงอย่างเต็มตัว ปราสาทเอะโดะถูกเปลี่ยนเป็นพระราชวัง
ในยุคเมจิ โตเกียวมีการพัฒนาโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เช่นการเปิดบริการโทรเลขระหว่างโตเกียวกับโยะโกะฮะมะในปี 1869 และการเปิดบริการรถไฟสายแรกระหว่างชิมบะชิและโยะโกะฮะมะในปี 1872
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น