วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ก่อนที่จะไปเป็นไกด์ที่ญี่ปุ่นเราก็ต้องรู้จักประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ฯลฯ แต่วันนี้หมิวจะบอกความเป็นมาของโตเกียวและประวัติศาสตร์น่าค่ะ

โตเกียว (Tokyo)
โตเกียว (「東京都」) หรือ กรุงโตเกียว เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน และเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก (
โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่มากกว่า 35 ล้านคน 35,237,000 คน) โดยเฉพาะในตัวโตเกียวใน 23 เขตปกครองพิเศษในโตเกียว แล้วมีประชากรประมาณ 8 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ในปี 2548 โตเกียวได้รับการจัดอันดับเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก โดยในปี 2550 โตเกียวได้เป็นอันดับทีE4 รองจาก มอสโก ลอนดอน และ โซล ตามลำดับโตเกียวตั้งอยู่บริเวณภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในพื้นที่โตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังอิมพีเรียล

ชื่อจังหวัด
โตเกียวเคยถูกเรียกว่าเอโดะ ซึ่งแปลว่าปากแม่น้ำ เมื่อกลายเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นในปี 1868 ก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว ซึ่งแปลว่าเมืองหลวงทางตะวันออก (โต (?:ตะวันออก) เกียว (?:เมืองหลวง)) ในตอนต้นยุคเมจิ โตเกียวบางครั้งถูกเรียกว่า โตเก ซึ่งเป็นวิธีอ่านอีกแบบของตัวคันจิในคำว่าโตเกียว แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

ประวัติศาสตร์
ปราสาทเอะโดะ หรือพระราชวังอิมพีเรียลในปัจจุบันโตเกียวแต่เดิมเป็นหมู่บ้านประมงเล็ก ที่ชื่อเอะโดะ ในปีค.ศ. 1457 โอตะ โดกัง สร้างปราสาทเอโดะขึ้น ในปีค.ศ. 1590 โทกุงะวะ อิเอะยะสึตั้งเอะโดะเป็นฐานกำลังของเขาและเมื่อเขากลายเป็นโชกุนในปีค.ศ. 1603 เมืองเอะโดะก็กลาย เป็นศูนย์กลางของรัฐบาลทหารของเขาซึ่งมีอำนาจปกครองทั้งประเทศ ในช่วงเวลาต่อมาในยุคเอะโดะ เมืองเอะโดะก็ขยายตัวขึ้นจนกลายเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งล้านคนในคริสตวรรษที่18และเป็นที่ยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นแม้ว่าองค์จักรพรรดิทรงประทับอยู่ในเกียวโต

หลังจากนั้นประมาณ 263 ปี ระบอบปกครองภายใต้โชกุนถูกล้มล้างโดยการปฏิรูปเมจิ อำนาจการปกครองจึงกลับคืนมาสู่จักรพรรดิอีกครั้ง ในปี
1869 จักรพรรดิเมจิทรงย้ายเมืองหลวงมาที่เอะโดะและเปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโตเกียว โตเกียวจึงกลายเป็นศูนย์กลางทางการปกครองและวัฒนธรรมของประเทศ และการที่จักรพรรดิทรงย้ายมาประทับจึงทำให้โตเกียวกลายเป็นเมืองหลวงอย่างเต็มตัว ปราสาทเอะโดะถูกเปลี่ยนเป็นพระราชวัง

ในยุคเมจิ โตเกียวมีการพัฒนาโดยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก เช่นการเปิดบริการโทรเลขระหว่างโตเกียวกับโยะโกะฮะมะในปี 1869 และการเปิดบริการรถไฟสายแรกระหว่างชิมบะชิและโยะโกะฮะมะในปี 1872

จรรยาบรรณ เป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะอาชีพไหนก็ต้องมีจรรยาบรรณทั้งนั้น ถ้างั้นเรามาดูจรรยาบรรณและข้อสังเกตเมื่อนักท่องเที่ยว

จรรยาบรรณของมัคคุเทศก์

1. จักต้องไม่อธิบายหรือบอกกล่าวเรื่องราวแก่นักท่องเที่ยว อันจะนำมาซึ่งความไม่ถูกต้องเสื่อมเสียแก่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมทั้งภาพพจน์ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย


2. จักต้องรับผิดชอบงานในหน้าที่ของมัคคุเทศก์ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของนักท่องเที่ยวตามข้อตกลงเกี่ยวกับรายการนำเที่ยวเป็นสำคัญ


3. จักต้องปฏิบัติหน้าที่โดยซื่อสัตย์สุจริต ไม่แสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ หรือไม่กระทำการอันใดเพื่อให้นักท่องเที่ยวอยู่ในสภาพที่ต้องปฏิบัติตามโดยไม่สมัครใจ


4. จักต้องไม่ปฏิบัติตนฝ่าฝืนศีลธรรม


5. จักต้องไม่ปฏิบัติตนขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและกฎระเบียบของสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง



ข้อสังเกตเมื่อนักท่องเที่ยวใช้บริการมัคคุเทศก์


1. มัคคุเทศก์ต้องมีใบอนุญาตและติดตัวไว้ตลอดเวลา


2. มัคคุเทศก์ที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวว่าจ้างมาให้บริการต้องนำเที่ยวตรงตามประเภทใบอนุญาตของมัคคุเทศก์


3. จดชื่อ เลขทะเบียนใบอนุญาตไว้ด้วย เพื่อประโยชน์แก่การตรวจสอบภายหลัง


4. มัคคุเทศก์ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีมารยาทและบุคลิกภาพที่ดี มีความประพฤติเหมาะสมสอดคล้องกับจรรยาบรรณของมัคคุเทศก์
กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวใช้มัคคุเทศก์ที่ไม่มีใบอนุญาตหรือใช้มัคคุเทศก์ต่างด้าว หรือพบเห็นผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์โดยไม่มีใบอนุญาต กรุณาแจ้งสำนักงานทะเบียนฯ ททท.ทุกแห่ง หรือ กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว โทรศัพท์ 1155


หากท่านประสงค์จะตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ก่อนเลือกใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เลขที่ 1600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร. 0-2250-5500 ต่อ 2405, 2406 โทรสาร. 0-2253-7464 อีเมล์: tbgdep@tat.or.th หรือ สำนักงานทะเบียนฯ ที่ใกล้บ้านท่าน

ท่านเป็นผู้หนึ่งที่จะสามารถช่วยตรวจสอบ และช่วยกันส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ของประเทศไทยให้ได้มาตรฐานและคุณภาพสมเป็นเมืองท่องเที่ยวขอให้ท่านเดินทางท่องเที่ยวอย่างมีความสุข เดินทางไปและกลับโดยสวัสดิภาพ

โดยทั่วไปก่อนเราจะเป็นไกด์ มักจะมีข้อห้ามต่างๆที่พระราชบัญญัติกำหนดไว้ เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าห้ามอะไรบ้างและมีหน้าที่อะไรบ้างของไกด์

พระราชบัญญัติฉบับนี้โดยทั่วไป จะให้ความสำคัญแก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทยเท่านั้น และป้องกันผู้ประกอบการนำเที่ยวที่ไม่มีคุณภาพและมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด จึงกำหนดชัดเจนว่า



1.ห้ามจัดนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต หรือประกอบการในระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต



2.ห้ามทำหน้าที่มัคคุเทศก์โดยไม่มีใบอนุญาต หรือปฏิบัติงานระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต


3.จะต้องไม่ปฏิบัติผิดกฎเกณฑ์อื่น ๆ ที่วางไว้ เช่นจ้างมัคคุเทศก์ไม่ตรงประเภท, เป็นมัคคุเทศก์แต่ไม่ติดบัตรขณะปฏิบัติหน้าที่, แต่งกายไม่สุภาพประพฤติผิดจรรยาบรรณ อื่น ๆ



4.ใบอนุญาตของผู้ประกอบการนำเที่ยวต้องแสดงไว้ในที่เปิดเผย ให้บุคคลทั่วไปเห็นได้ชัด




หน้าที่ของมัคคุเทศก์



1. มัคคุเทศก์ต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ



2. มัคคุเทศก์ต้องแต่งกายสุภาพและเหมาะสมกับสถานที่



3. มัคคุเทศก์ต้องติดเครื่องหมายแสดงการเป็นมัคคุเทศก์ ซึ่งได้รับใบอนุญาตและติดใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ไว้ที่อกเสื้อ เว้นแต่จะอยู่ในสภาพที่ไม่อาจจะปฏิบัติเช่นนั้นได้



4. มัคคุเทศก์ต้องไม่บรรยาย อธิบาย หรือบอกกล่าวเรื่องราวที่ไม่ถูกต้องแก่นักท่องเที่ยวอันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ประเทศชาติ และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทย



5. มัคคุเทศก์ต้องไม่กระทำการใด นอกเหนือความตกลงที่มีอยู่กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือนักท่องเที่ยว ในกรณีที่มัคคุเทศก์ได้กระทำการใดตามความประสงค์ของนักท่องเที่ยว และการนั้นอยู่นอกเหนือจากที่ตกลงไว้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์ต้องแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบภายในเวลาอันควร

ประเภทบัตรของมัคคุเทศก์

มัคคุเทศก์ หมายความว่า ผู้ที่นำนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆ และให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับสถานที่หรือบุคคลโดยได้รับค่าตอบแทน
มัคคุเทศก์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
มัคคุเทศก์ทั่วไป มี 2 ชนิด คือ



1. มัคคุเทศก์ทั่วไป ( ต่างประเทศ ) บัตรสีบรอนซ์เงิน นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ สามารถนำเที่ยวได้ทั่วราชอาณาจักร


2. มัคคุเทศก์ทั่วไป ( ไทย ) บัตรสีบรอนซ์ทอง นำเที่ยวได้เฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย สามารถนำเที่ยวได้ทั่วราชอาณาจักร

มัคคุเทศก์เฉพาะ มี 8 ชนิด คือ



1. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ต่างประเทศ เฉพาะพื้นที่) บัตรสีชมพู นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศเฉพาะจังหวัดที่ระบุไว้บนบัตรและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อ


2. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ไทย เฉพาะพื้นที่) บัตรสีฟ้า นำเที่ยวเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทย เฉพาะจังหวัดที่ระบุไว้บนบัตรและจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อ


3. มัคคุเทศก์เฉพาะ (เดินป่า) บัตรสีเขียว นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในเขตพื้นที่ป่า


4. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ศิลปวัฒนธรรม) บัตรสีแดง นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม วรรณคดีไทยได้ทั่วราชอาณาจักร


5. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทางทะเล) บัตรสีส้ม นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในเขตพื้นที่ทางทะเล


6. มัคคุเทศก์เฉพาะ (ทะเลชายฝั่ง) บัตรสีเหลือง นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศในเขตพื้นที่ทางทะเลหรือเกาะต่างๆ โดยมีระยะห่างจากชายฝั่งถึงสถานที่ท่องเที่ยวได้ไม่เกิน 40 ไมล์ทะเล


7. มัคคุเทศก์เฉพาะ (แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ) บัตรสีม่วง นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ เฉพาะภายในแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ระบุชื่อไว้บนบัตร


8. มัคคุเทศก์เฉพาะ (วัฒนธรรมท้องถิ่น) บัตรสีน้ำตาล นำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทย หรือชาวต่างประเทศทางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์ โบราณคดี เฉพาะภายในแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมท้องถิ่นระบุชื่อไว้ในบัตรเท่านั้น

การเป็นมัคคุเทศก์ จะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่ทางราชการกำหนด ซึ่งหลักสูตรแต่ละประเภทของบัตรมัคคุเทศก์จะกำหนดวุฒิการศึกษาไว้ต่าง ๆ กัน แต่คุณสมบัติสำคัญคือ ต้องเป็นคนสัญชาติไทย และ อายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป พูด – อ่าน และเขียนภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

โอกาสในการมีงานทำและโอกาสในความก้าวหน้าในอาชีพไกด์



โอกาสในการมีงานทำ
ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ทำเงินรายได้ให้ประเทศมากที่สุด และในปี2543 จะนำเงินเข้าประเทศได้ประมาณ 3 แสนล้านบาท โดยได้เปิดตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย และการท่องเที่ยวของประเทศไทยในต่างประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ประกอบการธุรกิจ การท่องเที่ยว ส่วนในประเทศได้เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว และศักยภาพในทุกด้านของทุกจังหวัด เพื่อส่งเสริม และรองรับคนไทยให้เที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยเน้นทั้ง ประวัติศาสตร์ โบราณสถาน วัฒนธรรม ประเพณีของทุกจังหวัด และทัวร์สิ่งแวดล้อม หรืออีโคทัวริสซึ่ม

แนวโน้มของคนในยุคปัจจุบันเมื่ออยู่ในสังคมใหม่จะแสวงหาวันหยุดที่ใกล้ชิดธรรมชาติ และความเงียบสงบ นักท่องเที่ยวต่างประเทศปัจจุบันจะเลือกเที่ยวในประเทศที่มีการจัดการและรักษา สิ่งแวดล้อม และสภาพทางนิเวศวิทยาที่ดีเท่านั้น อาจจะจัดเป็นทัวร์สุขภาพธรรมชาติบำบัด หรือรูปแบบการอบรมสัมมนาเนื้อหาทางพุทธศาสนา และทำสมาธิ การได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้านเพื่อเรียนรู้ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวบ้านเป็นต้น ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะจัดเป็นเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้ ดังนั้น บุคคลผู้สนใจประกอบอาชีพนี้สามารถเปิดการให้บริการ โดยสามารถจัดเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่มของตนเองขึ้นบนเว็บไซต์ออนไลน์เสนอให้ผู้สนใจทั่วโลกเลือกพิจารณารูปแบบการท่องเที่ยวได้
อนึ่ง องค์การท่องเที่ยวโลกได้มีการสนับสนุนกำหนดให้ วันที่ 27 กันยายนของทุกปี เป็นวันท่องเที่ยวโลก โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มี ต่อวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศและโลกโดยรวม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้เพราะเล็งเห็นถึงความมีศักยภาพในการเป็นประตูไปสู่การท่องเที่ยว อินโดจีน หรือภูมิภาค เข้าสู่ จีน พม่า ลาว เขมร และเวียดนาม ซึ่งนับว่าอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพสำคัญส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะมีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ได้มาตรฐานแล้วเป็น ผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย เนื่องจากผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวสนใจที่จะเลือกบริโภค ในประเทศที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้นโอกาสการมีงานทำเป็นมัคคุเทศก์จึงค่อนข้างมีมากและมีโอกาสความ ก้าวหน้าในอาชีพ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรอบรู้ ความสามารถ และจรรยาบรรณในวิชาชีพของมัคคุเทศก์

แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าขาดมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพ ก็ไม่สามารถทำให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลได้ จึงได้มีการส่งเสริม และพัฒนาอาชีพนี้ โดย ในปี 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีรางวัลพิเศษขึ้น คือ "มัคคุเทศก์ไทยดีเด่น” ในงานไทยแลนด์ทัวริสซึ่มอวอร์ด 2000 อันถือว่าเป็นงานยอดเยี่ยมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์ และพัฒนาทรัพยากรการ ท่องเที่ยว ทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตลอดจนจัดการบริการให้มีมาตรฐาน


โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ความก้าวหน้าในอาชีพนี้ไม่ได้วัดกันที่ตำแหน่ง แต่สามารถวัดได้จากความสามารถทางด้านภาษา ความอดทน ความเป็นมืออาชีพ ดังนั้น ผู้ที่สนใจต้องการประกอบอาชีพนี้สามารถติดต่อได้ที่บริษัท จัดท่องเที่ยว เมื่อมีประสบการณ์ และสร้างเครือข่ายข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวได้มาก และสร้างพันธมิตรทางธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็สามารถเปิดบริษัทเองได้ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถ เปิดสำนักงานของตนเองได้แต่จะต้องสำรวจพื้นที่ที่ตนอยู่ และจังหวัดใกล้เคียงว่ามีแหล่งทรัพยากร การท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และจัดเป็นรูปแบบการเดินทางได้หรือไม่ จากนั้นก็จัดทำโฮมเพจ เสนอบริการ ขึ้นเว็บไซต์ตรงสู่ผู้สนใจ โดยปรึกษากับบริษัทที่ปรึกษาการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ โดยใช้บ้านเป็นสำนักงาน

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพไกด์






ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้




1. พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ




2. มีความรู้ทั่วไป และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ




3. รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ ปรับตัวได้ และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีใน ทุกสถานการณ์




4. มีความยืดหยุ่น ประนีประนอม และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของ ผู้เดินทางร่วมไปด้วย




5. มีความเป็นผู้นำ มีความกล้า มีความรอบคอบและไม่ประมาท




6. มีทัศนะคติดี ร่าเริง มีความเสียสละซื่อสัตย์ ซื่อตรง และอดทน




7. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี




8. มีความคิดสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี




9. เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ






10. เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดี ทั้งข้อมูลการ ท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว






ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ : มัคคุเทศก์ท้องถิ่น เป็นผู้ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า และได้รับการอบรม เพิ่มเติม เพื่อรับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.) เป็นเวลา 320 ชั่วโมง หรือ 40 วัน มัคคุเทศก์ภายในประเทศ และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปต้องเข้ารับการอบรม และมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากสถาบันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การรับรอง หรือ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะ หรือสาขาวิชาธุรกิจ การท่องเที่ยว

ก่อนที่จะเป็นไกด์เราก็ต้องรู้ถึงสภาพการจ้างงาน และการทำงานก่อนนะค่ะ

สภาพการจ้างงาน
ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์ได้รับค่าตอบแทนการทำงานเป็นเงินเดือนประจำ หรือ ค่าจ้างเป็นเที่ยวในการพานักท่องเที่ยวออกไปท่องเที่ยว ซึ่งจะคิดค่าจ้างเป็นรายวันเฉลี่ยประมาณวันละ 1,500-3,000 บาท และอาจจะได้รับค่าตอบแทนถึง 100,000 บาทเป็นค่านายหน้าจากบริษัท หรือร้านที่นักทัศนาจรมา ซื้อของที่ระลึก หรือเข้าชมการแสดงในสถานที่ท่องเที่ยว ตามที่แต่ละแห่งได้ตั้งค่านายหน้าไว้


ผู้ทำงานมัคคุเทศก์มีกำหนดเวลาทำงานที่ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับโครงการ และแผนการนำเที่ยว ซึ่งกำหนดไว้ในแต่ละรายการ ผู้ปฏิบัติงานนี้จะต้องผ่านการอบรมวิชาชีพมัคคุเทศก์ และมีความรู้ภาษาต่างประเทศซึ่งสามารถใช้งานได้ดี


สภาพการทำงาน
มัคคุเทศก์ จะทำงานตามช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยวมีระยะเ
วลาตั้งแต่ 1 วัน ถึงสามหรือสี่สัปดาห์ และในขณะพานักท่องเที่ยวทัศนาจรต้องดูแลนักท่องเที่ยวตลอด 24 ชั่วโมง นำนักทัศนาจร หรือนักท่องเที่ยว ตั้งแต่คนเดียวจนถึงเป็นกลุ่ม หรือกลุ่มใหญ่ไปชมสถานที่ต่างๆ ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดตามที่กำหนดไว้ในแผนการนำเที่ยว การเดินทางอาจจะมีทั้งระยะใกล้ ไกล อาจใช้ยานพาหนะทุกประเภท อาจต้องนำเที่ยวในลักษณะผจญภัย อย่างเช่น ทัวร์ป่า การเดินขึ้นเขา การล่องแพ การค้างแรมร่วมกับกลุ่มชนชาวพื้นเมือง ขึ้นอยู่กับแผนการนำเที่ยว และรูปแบบของการท่องเที่ยว


มัคคุเทศก์จะต้องวางแผนติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริการ การอำนวยความสะดวก และการดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวตลอดเส้นทาง รวมไปถึงการให้ข้อมูลที่จำเป็น และให้คำแนะนำแก่นักท่องเที่ยวในการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกเดินทางทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับประเภทของการท่องเที่ยว ตลอดจนตอบข้อซักถาม ให้คำแนะนำในระหว่างการเดินทางรวมทั้งต้องทำ กิจกรรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวที่ร่วมเดินทางทุกคนได้รับความสนุกสนาน ประทับใจ ในบางครั้งอาจจะต้องจัด กิจกรรม หรือให้บริการที่สร้างความพอใจให้กับนักท่องเที่ยวตามจุดประสงค์ที่นักท่องเที่ยวต้องการภายในระยะเวลาที่กำหนด และพร้อมที่จะแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวได้ ตลอด 24 ชั่วโมง


บางครั้งมัคคุเทศก์จะต้องทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันต้องใช้ความอดทน และอดกลั้นสูง ดังนั้น ความพร้อม และความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย และจิตใจจึงมีความสำคัญมาก เพราะนักท่องเที่ยว มีอัธยาศัย และพื้นฐานความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป เมื่อมารวมกลุ่มกันจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ด้วยดี อีกทั้งได้รับความสุข ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินด้วย มัคคุเทศก์จึงเปรียบเสมือนตัวแทนของท้องถิ่น และประเทศนั้น ๆ

วันนี้หมิวจะมาบอกความเป็นมาของคำว่าไกด์และมัคคุเทศก์ นิยามของไกด์ และลักษณะของการที่ทำน่าค่ะ

คำว่าไกด์นั้นเป็นการเรียกทับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าเป็นคำไทยจริง ๆ ก็คือ มัคคุเทศก์ นั่นเอง และคำว่า "มัคคุเทศก์" นี้ ก็เป็นการผสมคำ คือเป็นสมาสของคำว่า "มรรค" หรือ "มคค" (ทาง) กับคำว่า "อุทเทสก" (ผู้ชี้แจง) โดยสรุปได้เป็นคำจำกัดความว่า มัคคุเทศก์ คือผู้คอยบรรยายชี้แจงเกี่ยวกับการเดินทางนั่นเอง อีกประการหนึ่ง มัคคุเทศก์คืออาชีพ ๆ หนึ่งซึ่งเป็นอาชีพสุจริต ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ชื่ออาชีพ ของไกด์ หรือมัคคุเทศก์สามารถพิมพ์ได้หลายแบบดังนี้ค่ะ
มัคคุเทศก์ Guides, Sightseeing Guides Travel Guides

นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติงานอาชีพนี้ทำหน้าที่ในการนำนักท่องเที่ยว หรือนักเดินทาง เดินทางท่องเที่ยว ทัศนาจรตามสถานที่ต่างๆ ตามแผนการทัศนาจร หรือตามโครงการนำเที่ยวของบริษัทจัดการนำเที่ยว หรือตามความต้องการของนักท่องเที่ยวหรือนักเดินทาง ในการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวด้วยการอธิบาย และบรรยายถึงสภาพ และสถานที่เที่ยวที่สำคัญด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ

ลักษณะของงานที่ทำ
ปฏิบัติงานอาชีพนี้ จะต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นำเที่ยว รวมทั้งความรู้ด้าน ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ จารีตประเพณี วัฒนธรรม วางแผนกำหนดเส้นทาง จัดกำหนดการนำเที่ยว ให้เหมาะสมกับฤดูกาล และระยะเวลา ติดต่อสถานที่พักแรม หรือเตรียมอุปกรณ์เพื่อการพักแรมในสถานที่ ที่จะนำเที่ยว
นำนักท่องเที่ยวชมสถานที่ และบรรยายให้นักท่องเที่ยวได้ทราบความเป็นมาของสถานที่ และท้องถิ่น แหล่งธรรมชาติที่น่าชม และน่าสนใจ ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ความเป็นอยู่ของประชาชน
จัดการพักแรม และดูแลให้ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในระหว่างการนำเที่ยว โดยพยายามจัดการให้บริการที่ต้องสร้างความพอใจ และประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวทุกคนอย่างทั่วถึงและต้องมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
อาชีพมัคคุเทศก์ จัดแบ่งออกเป็นกลุ่มตามกลุ่มของนักท่องเที่ยว คือ มัคคุเทศก์พาเที่ยวภายในประเทศ (Domestic) มัคคุเทศก์ท้องถิ่น และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ (Inbound) นอกจากนี้ ยังแบ่งกลุ่มมัคคุเทศก์ตามลักษณะของการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์เดินป่า มัคคุเทศก์ทางทะเล มัคคุเทศก์ศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ก่อนไปญี่ปุ่นเราต้องมีวีซ่าใช่ไม่ค่ะ ถ้าอย่างนั้นเรามาดูขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางกันเลยค่ะ




ระเบียบการยื่นขอวีซ่า
ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป ผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ที่มีความประสงค์จะเดินทางไปเพื่องานราชการ และพำนักระยะสั้นภายใน 90 วัน ไม่ต้องยื่นขอวีซ่า
ประกาศการเปลี่ยนแปลงเวลารับคำร้องขอวีซ่า
เวลาในการรับคำร้องขอวีซ่าญี่ปุ่น เพื่อการพำนักระยะสั้น วีซ่าทรานซิท 8.30 – 11.15 น. /
วีซ่าประเภทอื่นๆ 13.30 – 16.00 น.
อนึ่ง การให้บริการของฝ่ายหนังสือเดินทาง ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ทะเบียนครอบครัว และการออกใบรับรองต่างๆของคนญี่ปุ่น ตลอดจนงานฝ่ายการเลือกตั้งในต่างประเทศ และฝ่ายคุ้มครองคนญี่ปุ่นนั้น ยังคงเปิดให้บริการตามเวลาปกติ

อัตราค่าธรรมเนียม การขอวีซ่าญี่ปุ่น [ใหม่]
ค่าธรรมเนียมวีซ่าญี่ปุ่น(ใหม่) สำหรับคนไทย ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 1 เมษายน 2553 มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
วีซ่าทั่วไป : 1,080 บาท
วีซ่า Multiple : 2,160 บาท
(สำหรับการเดินทางหลายครั้ง)
วีซ่าทรานซิท : 260 บาท
(สำหรับการเดินทางผ่าน)

สถานที่ตั้งสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ที่อยู่สถานทูตญี่ปุ่น
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
177 ถนนวิทยุ ลุมพินี ปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
» โทร: 0-2696-3000, 0-2207-8500
» ใกล้กับ MRT สถานีลุมพินี เดินเท้า1 ป้ายรถเมล์

แบบสอบถามเพื่อขอวีซ่าญี่ปุ่น
ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ทางสถานทูตญี่ปุ่นใคร่ขอแจ้งให้ทราบว่า “แบบสอบถามเพื่อการยื่นขอวีซ่าญี่ปุ่น” มีผลบังคับใช้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ดังนั้นท่าน ที่ประสงค์จะยื่นคำร้องขอวีซ่า จะต้องแนบเอกสารดังกล่าวมาประกอบการยื่นด้วย หากท่านไม่สามารถเตรียม “แบบสอบถามเพื่อการยื่นขอวีซ่าญี่ปุ่น" ได้ ทางสถานทูตฯจะปฏิเสธการยื่นคำร้องขอ จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอความร่วมมือทุกท่านมา ณ ที่นี้
เอกสารที่ใช้ในการยื่นขอว่าญี่ปุ่น

เพื่อการท่องเที่ยว(วีซ่าประเภทการพำนักระยะสั้น)
1. หนังสือเดินทางที่ไม่มีตราประทับมากกว่า 2 หน้าขึ้นไป หากมีหนังสือเดินทางเล่มเก่า กรุณานำมาแสดงด้วย
2. ใบคำร้องขอวีซ่า 1 ใบ
3. รูปถ่าย (ขนาด 2 x 2 นิ้ว สี/ขาวดำ พื้นหลังสีอ่อน ไม่มีลวดลาย ไม่มีการแต่งภาพถ่าย จะต้องเป็นรูปถ่ายที่ชัดเจน ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน) 1 ใบ
4. แบบสอบถามเพื่อการยื่นขอวีซ่า
5. ทะเบียนบ้าน ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
6. หนังสือรับรอง ดังนี้

ในกรณีที่ผู้ยื่นเป็นพนักงานหรือข้าราชการ
ให้แสดงหนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงานที่สังกัด
(ให้ระบุตำแหน่ง, วันเริ่มทำงาน, อัตราเงินเดือน และระยะเวลาวันลาพักร้อน)

ในกรณีที่ประกอบอาชีพธุรกิจ
ให้แสดงหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทหรือทะเบียนการค้าจากกระทรวงพาณิชย์

ในกรณีที่นักเรียนนักศึกษาที่มีอายุตั้งแต่ง 16 ปี ขึ้นไป
ให้แสดงหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียนนักศึกษา และหนังสือรับรองกาทำงาน หรือหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทหรือทะเบียนการ ค้าของผู้อุปการะทำงาน

ในกรณีผู้อยู่ภายใต้อุปการะเลี้ยงดู
เช่น แม่บ้านที่ไม่ได้ทำงาน ให้แสดงหนังสือรับรองการทำงาน หรือหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทหรือทะเบียน การค้าของผู้อุปการะ
(เอกสารทุกอย่างจะต้องออกไม่เกิน 3 เดือน, ในกรณีที่ผู้ยื่นไม่มีอาชีพ หรือประกอบอาชีพที่ไม่สามารถแสดงหนังสือรับรองการทำงาน หรือหนังสือรับรองจด ทะเบียนบริษัท หรือทะเบียนการค้าได้กรุณาทำหนังสืออธิบายอาชีพและรายได้ โดยละเอียด) ฉบับจริง 1 ชุด
7. ผู้ที่เดินทางเป็นครั้งแรก หากเคยเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล หรือผู้ที่ได้เปลี่ยนชื่อตัวหรือสกุลหลังจากเดินทางไปญี่ปุ่นครั้งที่แล้ว ให้เตรียมเอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล เช่น ใบเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล, ใบสำคัญการสมรส, ใบสำคัญการหย่า ฉบับจริงและสำเนา 1 ชุด
8. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ของผู้ยื่นคำร้องหรือของผู้อุปการะ) ฉบับจริงและสำเนา (ทุกหน้า) 1 ชุด (ใช้สำหรับยื่นในกรณีที่ผู้ยื่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วย ตัวเอง ยกเว้นสำหรับผู้ยื่นที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งมีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไปและสามารถตรวจสอบได้จากหนังสือรับรองการทำงาน ไม่ต้องยื่นสมุดบัญชีธนาคาร ทั้งนี้รวมถึงการยื่นสำหรับครอบครัวในความอุปการะของบุคคลดังกล่าวด้วย)

เพื่อเยี่ยมเพื่อน หรือคนรู้จัก (วีซ่าประเภทการพำนักระยะสั้น)
เอกสารที่ต้องเตรียม เป็นไปตาม วีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว ตั้งแต่ ข้อ 1 - 7 และต้องเตรียมเพิ่มเติมดังนี้
1.เอกสารรับรองเหตุผลในการเดินทาง : (อนึ่ง ผู้ที่เคยไปญี่ปุ่นแล้วภายในเวลา 3 ปี สามารถยกเว้นเอกสารเหล่านี้) จดหมายรับรองความสัมพันธ์ (กรุณาเขียนอธิบาย ประวัติความเป็นมาและช่วงเวลาที่ได้รู้จักกัน) , รูปถ่ายที่ถ่ายด้วยกัน, จดหมาย, สำเนาหนังสือเดินทางของเพื่อนหรือคนรู้จักที่ญี่ปุ่น (ถ่ายสำเนาหน้าที่มี ชื่อสกุลและรูป และหน้าที่มีตราอนุญาตการพำนักอาศัย) เป็นต้น
2. กรณีที่เพื่อนหรือคนรู้จักที่อยู่ในญี่ปุ่น เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง: ใช้หนังสือรับรองต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ของเพื่อนหรือคนรู้จักที่อยู่ในญี่ปุ่น
(เช่น หนังสือรับรองการเสียภาษี, หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากจากธนาคาร, สำเนาแบบแสดง รายการยื่นภาษีเงินได้, หนังสือรับรองรายได้)
อนึ่ง สำหรับหนังสือค้ำประกัน จะยื่นด้วยหรือไม่ก็ได้ เอกสารเหล่านี้ไม่มีกำหนดแบบฟอร์มของเอกสาร สามารถดูจากโฮมเพจของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น หัวข้อ [ข้อแนะนำในการยื่นวีซ่าแยกตามสัญชาติต่างๆ] ซึ่งจะมี ตัวอย่างของแบบฟอร์ม

เพื่อการเยี่ยมญาติ (วีซ่าประเภทการพำนักระยะสั้น)
เอกสารที่ต้องเตรียม เป็นไปตาม วีซ่าเพื่อการท่องเที่ยว ตั้งแต่ ข้อ 1 - 7 และต้องเตรียมเพิ่มเติมดังนี้
1. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ยื่น กับ ญาติที่อยู่ในญี่ปุ่น
» ทะเบียนบ้านไทย และหนังสือเดินทางของญาติที่อยู่ในญี่ปุ่น
(หน้าที่มีชื่อสกุลและรูป และหน้าที่มีตราอนุญาตการพำนักอาศัย)
» หนังสือรับรองคนต่างด้าว (ออกไม่เกิน 3 เดือน) หรือบัตรประจำตัวคนต่างด้าว ด้านหน้าและหลัง ของญาติที่อยู่ในญี่ปุ่น สำเนาอย่างละ 1 ชุด
» เอกสารรับรองค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
- ในกรณีที่ผู้ยื่นเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยตัวเอง สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (ของผู้ยื่นคำร้องหรือของผู้อุปการะ) ฉบับจริงและสำเนา (ทุกหน้า) 1 ชุด
ยก เว้นสำหรับผู้ยื่นที่เป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งมีอัตราเงินเดือนตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป และสามารถตรวจสอบได้จากหนังสือรับรองการทำงานไม่ต้องยื่นสมุดบัญชีธนาคาร ทั้งนี้รวมถึงการยื่นสำหรับครอบครัวในความอุปการะของบุคคลดังกล่าวด้วย
- กรณีที่ญาติที่อยู่ในญี่ปุ่น เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ใช้หนังสือรับรองอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้เชิญต่อไปนี้ (ญาติที่อยู่ในญี่ปุ่น หรือคู่สมรสของญาติ)
(เช่น หนังสือรับรองการเสียภาษี, หนังสือรับรองบัญชีเงินฝากจากธนาคาร, สำเนาแบบแสดงรายการยื่นภาษีเงินได้, หนังสือรับรองรายได้) ฉบับจริง 1 ชุด
2. เอกสารอ้างอิงอื่นๆ (เอกสารดังต่อไปนี้จะเลือกยื่นหรือไม่ก็ได้)
(1) หนังสือแสดงเหตุผลในการเชิญ (2) หนังสือค้ำประกัน (3) กำหนดการเดินทาง
เอกสารเหล่านี้ไม่มีกำหนดแบบฟอร์มของเอกสาร แต่สามารถดูจากโฮมเพจของกระทรวง ต่างประเทศญี่ปุ่น หัวข้อ [ข้อแนะนำในการยื่นวีซ่าแยกตามสัญชาติต่างๆ ]

ข้อแนะนำในการยื่นขอวีซ่าญี่ปุ่น
1.กรุณาตรวจสอบเอกสารในการยื่นขอวีซ่าญี่ปุ่นให้ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของประเภทวีซ่าญี่ปุ่น
2.การยื่นขอวีซ่าญี่ปุ่น
- เวลาในการรับคำร้องขอวีซ่าญี่ปุ่น เพื่อการพำนักระยะสั้น วีซ่าทรานซิท 8.30 – 11.15 น. / วีซ่าประเภทอื่นๆ 13.30 – 16.00 น.
- ทางสถานฑูตญี่ปุ่นจะให้บริการในการรับคำร้องยื่นขอวีซ่าตามลำดับหมายเลขบัตรคิว กรุณากดปุ่มคิว A และนั่งรอเจ้าหน้าที่เรียกเพื่อจะรับการบริการ หากต้องการปรึกษาหรือยื่นวีซ่าคู่สมรสชาวญี่ปุ่นกดปุ่มบัตรคิว C
- กรุณาติดต่อเคาน์เตอร์ที่เรียกหมายเลขบัตรคิวของท่านเพื่อยื่นเอกสาร
- กรุณารอเรียกหมายเลขบัตรคิวเดิมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อรับใบนัดฟังผลวีซ่าญี่ปุ่น
- ในการยื่นขอวีซ่าญี่ปุ่นโดยทั่วไปนั้น จะใช้เอกสารประกอบการยื่นวีซ่าตามตารางหมายเลข 1 ด้านบน อนึ่ง ในบางกรณีอาจมีการถูกเรียกขอเอกสารเพิ่มเติม
3.วันทำการถัดไป นับจากวันยื่นคำร้อง อนึ่งในบางกรณีอาจต้องใช้เวลานานมากกว่า 3 วัน
4. ระยะเวลาในการพิจารณาวีซ่าญี่ปุ่น โดยทั่วไปทางสถานฑูตญี่ปุ่นจะใช้เวลาในการพิจารณาวีซ่า
5. หากท่านถูกพิจารณาวีซ่าเกิน 1 สัปดาห์ และมีความประสงค์จะทราบว่า การพิจารณานั้นเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ สามารถสอบถามได้ทางโทรศัพท์ โดยแจ้งวันที่ยื่นคำร้อง หมายเลขใบนัดฟังผล หมายเลขบาร์โค้ด และชื่อสกุลของท่าน
6. การรับเล่มหนังสือเดินทางคืน (การฟังผลวีซ่า) เริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 13.30 – 16.00 น.
- กรุณามาติดต่อขอรับหนังสือเดินทาง ตามวันเวลาที่ระบุในใบนัดฟังผลวีซ่าญี่ปุ่น หรือตามวันและเวลาที่เจ้าหน้าที่ได้แจ้งทางโทรศัพท์ กรุณาเตรียมใบนัดฟังผลและเงินค่าธรรมเนียมตรงตามที่ระบุในใบนัดฟังผลมาด้วย
- กรุณาชำระค่าธรรมเนียมวีซ่าญี่ปุ่นเป็นเงินสดขณะรับเล่มคืน (1) วีซ่ามีอายุ 3 เดือน (หมายความว่า ท่านต้องเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นภายใน 3 เดือน นับจากวันที่ออกวีซ่า) (2) นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้รับสิทธิในการยกเว้นค่าธรรมเนียม โดยการแสดงหนังสือรับรองสถานภาพความเป็นนิสิต
– นักศึกษา ตัวจริงกับเจ้าหน้าที่ เมื่อมายื่นขอวีซ่าตามหัวข้อที่ 2
7. ข้อแนะนำเพิ่มเติม การขอวีซ่าญี่ปุ่นนั้นเป็นเพียง 1 ขั้นตอนของการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศญี่ปุ่น อาจะมีการถูกตรวจสอบเพิ่มเติมที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง และอาจถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศได้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ขอให้ท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ
1.หากเอกสารที่เตรียมมาไม่ครบถูกต้องตามระเบียบที่ได้ระบุไว้ข้างต้น กรุณารับทราบด้วยว่า ทางสถานทูตจะไม่สามารถรับคำร้องขอวีซ่าได้
2.รับคำร้องขอวีซ่า ระหว่างเวลา08.30 – 11.15 น. ที่ช่องหมายเลข 1 และ 2
3.สำหรับวันและเวลาในการคืนหนังสือเดินทาง (การฟังผลวีซ่า) สถานทูตจะให้ใบนัดฟังผลในวันที่ ยื่นคำร้อง กรุณาตรวจยืนยันวันที่คืนหนังสือเดินทางตามที่ระบุไว้ในใบนัดฟังผล โดยที่สถานทูตจะ คืนหนังสือเดินทางให้ใช้เวลาเร็วที่สุดคือ อีกสองวันทำการถัดไปนับจากวันที่ยื่นคำร้อง ในเวลา 13.30-16.00 น.
ในกรณีที่ได้รับการอนุมัติ วีซ่าจะติดในหนังสือเดินทาง สำหรับผู้ยื่นที่ทางเจ้าหน้าที่คิดว่า อาจใช้เวลาพิจารณามากกว่าสองวันทำการถัดไป เช่น ผู้ที่เดินทางไป ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หรือตามวัตถุประสงค์ในการเดินทาง หรือแล้วแต่สถานการณ์ต่างๆ เป็นต้น ซึ่งใน บางกรณีอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติม, การสัมภาษณ์ผู้ยื่นขอวีซ่า หรือมีความจำเป็นต้อง ตรวจสอบไปยังกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ทางสถานทูตจะให้ใบนัดฟังผลและระบุว่าให้รอ (ทางสถานทูตจะติดต่อทางโทรศัพท์ให้มาฟังผลในภายหลัง) ซึ่งกรณีเช่นนี้อาจจะไม่สามารถ พิจารณาวีซ่าได้ทันตามกำหนดการเดินทางที่ต้องการ
ฉะนั้น กรุณายื่นขอวีซ่าล่วงหน้าหลายๆวัน ก่อนการเดินทาง กรณีที่ยังไม่ได้รับการติดต่อจากสถานทูตญี่ปุ่นหลังจากที่ยื่นวีซ่าไปแล้วเป็นเวลา มากกว่า 1 สัปดาห์ ผู้ยื่นสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ โดยให้แจ้งหมายเลขใบนัดฟังผล (ตัวอักษร ภาษาอังกฤษกับตัวเลข5หลัก) และหมายเลขบาร์โค้ด (ตัวเลข8หลัก) อนึ่งกรุณารับทราบด้วยว่าการ พิจารณาออกวีซ่าต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองวันทำการ จึงไม่สามารถออกวีซ่าให้ได้เร็วกว่านี้ตามคำร้องขอ เป็นกรณีพิเศษ
» ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย 2 มีนาคม 2553